ประเพณีสำคัญในจังหวัดนครปฐม

ประเพณี หมายถึง น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี. ประเพณีนิยม น. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา

ประวัติเมืองนครปฐม

การศึกษาประวัติศาสตร์บ้านเมืองในสมัยโบราณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาถึงสภาพลักษณะภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมกายภาพ เนื่องจากการเวลาอันยาวนานย่อมก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงต่อภูมิประเทศ จนบางครั้งอาจไม่เหลือร่องรอยเดิมอยู่เลย
สำหรับจังหวัดนครปฐมปัจจุบันจุตั้งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลอ่าวไทยประมาณ 42.5 กิโลเมตร แต่จาการศึกษาตำแหน่งเมืองโบราณและแนวชายฝั่งทะเลเดิมของ ทิวา ศุภจรรยา และ ผ่องศรี วนาสิน ได้ผลสรุปว่า บริเวณเมืองนครปฐมในอดีตย้อนหลังไปสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 16 ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งทะเล และเมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับตำแหน่งเมืองโบราณจำนวน 63 เมือง บริเวณที่ราบเจ้าพระยาตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครสรรค์ถึงอ่าวไทย จะพบว่าเมืองโบราณเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่รอบอ่าวในระดับความสูง 3.50 – 4 เมตรขึ้นไป ขณะเดียวกันยังพบเมืองโบราณ 20 เมือง มีเส้นทางติดต่อกับทะเลได้โดยตรง และบางเมืองเป็นเมืองชายฝั่งทะเลที่มีเรือเดินสมุทรเข้าจอดได้ถึงตัวเมือง เช่น เมืองพระประโทณ (นครปฐม) เมืองศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี) เป็นต้น

ชาติพันธ์ุในจังหวัดนครปฐม

ชาติพันธุ์ (ชาดติพัน) หมายถึง “น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกันและที่แสดงเอกลักษณ์ออกมาโดยการผูกพันลักษณะการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน”
ที่มา :พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 359…
ความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานเมืองนครปฐมเมืองนครปฐมเดิมตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีความเจริญมากในสมัยทวารวดีเพราะเป็นเมืองราชธานีที่สำคัญในสมัยนั้น เป็นแหล่งรับอารยธรรมที่เผยแพร่มาจากประเทศอินเดีย ผ่านเข้ามาที่นครปฐมเป็นแหล่งแรกรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญมีชนชาติต่างๆอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดความแห้งแล้งในเมืองเพราะกระแสน้ำเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพออกไปหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาหลายร้อยปี

ภูมินามท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม

ภูมินาม หมายถึง นามบ้านนามเมือง นามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งภูมินามเหล่านั้นอาจจะมีที่มาจากต้นเหตุแตกต่างกันไป เช่น มาจากนิทาน นิยายประจำถิ่น ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสอดคล้องทางภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ลักษณะกายภาพในท้องถิ่น ตลอดจนพืชพรรณต่างๆ ที่อยู่ในท้องถิ่น

ตลาดโบราณนครปฐม

จากการที่รัชกาลที่ 4  ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์  มีการขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อการคมนาคมขนส่ง  นับแต่นั้นมาก็ส่งผลให้ผู้คนเริ่มทยอยเข้ามายังองค์พระปฐมเจดีย์  เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ต่อจากรัชกาลที่ 4 และได้สร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านองค์พระปฐมเจดีย์ทางด้านทิศเหนือส่งผลให้มีความสะดวกในการเดินทางยิ่งขึ้น

วงดนตรีพื้นบ้านพิณแคนประยุกต์ในจังหวัดนครปฐม

ประวัติความเป็นมา ในด้านประวัติความเป็นมาของวงพิณแคนประยุกต์ในจังหวัดนครปฐม พบว่ามีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยอดีต ซึ่งเริ่มต้นจากวงกลองยาวพื้นบ้านได้พัฒนาต่อยอดมาจนเป็นวงพิณแคนประยุกต์.. ที่ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม นับได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีวงพิณแคนประยุกต์อยู่หลายคณะ จุดสังเกตอีกแง่มุมคือนักดนตรีในวงพิณแคนประยุกต์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายลาวครั่ง ซึ่งชุมชนเชื้อสายลาวครั้งนี้ได้กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครปฐม นอกจากมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในกลุ่มของนักดนตรีด้วยกันแล้ว ยังมีองค์กรที่เป็นเครือข่ายทางดนตรีพิณแคนประยุกต์ กล่าวคือ การที่โรงเรียนวัดลำเหย ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดย ดร.อนวัช นกดารา หรือที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าครูอุบล ซึ่งเป็นข้าราชการครูโรงเรียนวัดลำเหย เป็นผู้ที่สร้างสรรค์สนับสนุนส่งเสริมศิลปะการแสดงโปงลาง โดยนำนักเรียนไปฝึกฝนการเล่นเครื่องดนตรีอีสาน เช่น พิณ แคน โปงลาง ฯ ตลอดจนศิลปะการร่ายรำ และตั้งวงโปงลางของโรงเรียนวัดลำเหยขึ้น มีชื่อวงว่า “ศรีอุบลโปงลาง” ซึ่งได้แสดงทั้งงานภายในโรงเรียนและในชุมชนตามโอกาสต่างๆ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป จากการที่วงพิณแคนประยุกต์ฯ ได้มีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นภายในครอบครัวเครือญาติ เมื่อมาผนวกกับลูกหลานเยาวชนที่เป็นนักเรียนที่เล่นดนตรีอยู่ในวง “ศรีอุบลโปงลาง” ของโรงเรียนวัดลำเหยที่มีทักษะในการแสดงดนตรีพื้นบ้าน ส่งผลให้เด็กลูกหลานเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดวงพิณแคนประยุกต์ของชุมชนลำเหย วงพิณแคนประยุกต์นอกจากจะพบได้มากที่ชุมชนตำบลลำเหยแล้ว ยังมีอยู่กระจายทั่วไปในจังหวัดนครปฐม แต่ก็น้อยกว่าที่ชุมชนตำบลลำเหย จึงกล่าวได้ว่าชุมชนตำบลลำเหยเป็นชุมชนที่มีวงพิณแคนประยุกต์มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม และเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รูปแบบการแสดงดนตรีพื้นบ้านพิณแคนประยุกต์ใน จ.นครปฐม บทบาทของวงพิณแคนประยุกต์ใน จ.นครปฐม ภาพ : อาจารย์วิศิษ แก้วเอี่ยม […]

การส่งเสริมการท่องเที่ยว ในจังหวัดนครปฐม 9 แห่ง

วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร คริสตจักรจีนนครปฐม วัดไผ่ล้อม วัดศีรษะทอง วัดไร่ขิง พระอารามหลวง วัดธรรมปัญญารามบางม่วง วัดกลางบางพระ วัดลำพญา วัดอรัญญญการาม นครปฐม อู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเลเป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐมเพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชได้ธุดงค์ไปพบประปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้งเมื่อได้ครองราชย์จึงโปรดฯให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ฯ ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และโปรดฯให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม” คำขวัญจังหวัดนครปฐมส้มโอหวาน ข้าวสารขาว […]

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม พิพิธภัณฑ์อำเภอเมืองนครปฐม พิพิธภัณฑ์อำเภอกำแพงแสน พิพิธภัณฑ์อำเภอดอนตูม พิพิธภัณฑ์อำเภอนครชัยศรี พิพิธภัณฑ์อำเภอบางเลน พิพิธภัณฑ์อำเภอพุทธมณฑล พิพิธภัณฑ์อำเภอสามพราน Web Design : Wisit Kaewiam หากเอ่ยคำว่า “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” แล้วตามด้วยคำถามว่า คืออะไร?? คำตอบของใครหลายต่อหลายคนคงแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะนิยามว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ใช่ของทางการ บางคนอาจจะบอกว่าต้องดูที่เนื้อหาว่าต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงเรื่องราวของท้องถิ่น บางคนอาจจะบอกว่าองค์กรของท้องถิ่น เช่น หมู่บ้าน วัด หรือ อบต.ดูแลก็น่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นได้ ตำตอบเหล่านี้หรือคำตอบไหนๆ ก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิด หากแต่ความหมายของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมันกว้างมาก พิพิธภัณฑ์ เป็นคำนาม หมายถึง “สิ่งของต่างๆ ที่รวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เช่น โบราณวัตถุ หรือ ศิลปวัตถุ” ซึ่งถึงแม้ว่า ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้เช่นนั้น แต่การใช้คำว่า พิพิธภัณฑ์ ในปัจจุบันมักนิยมหมายถึง “สถานที่ หรือสถาบันสำหรับเก็บรวบรวมสิ่งของต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา” ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความหมายของพิพิธภัณฑ์นี้ได้แปรเปลี่ยนไปจากรูปศัพท์เดิม กลายเป็นมีความหมายเดียวกันกับคำว่า พิพิธภัณฑสถาน ส่วนพิพิธภัณฑสถาน [พิ-พิด-ทะ-พัน-ทะ-สะ-ถาน] ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 กล่าวไว้ว่า […]

อาเซียนในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS)

CLMV อาเซียนในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง    (Great Mekong Subregion: GMS) เป็นประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา (Cambodia) ลาว (Laos) เมียนมาร์ (Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam) เป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย เชื่อมต่อกับไทยทางบกและเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทย เจดีย์องค์ใหญ่ หมายถึง องค์ประปฐมเจดีย์ที่พระโสณะ และพระอุตระได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ต่อเติมให้สูงใหญ่สง่างาม ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ก้อนเมฆ หมายถึง พระปฐมเจดีย์ที่สูงเสียดฟ้า บรรณานุกรม องค์ความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. CLMV คือกลุ่มประเทศอะไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11/05/2560, จาก http://www.thai-aec.com/65#ixzz3Jao2mI4b. Marketeer. 10 เรื่องต้องรู้ก่อนตลุย CLMV. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17/05/2560, จาก  http://marketeer.co.th/archives/63090. สถาบันพระปกเกล้า. กลุ่มประเทศ CLMV และประเทศ ASEAN6. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ […]

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย (ASEAN Association – Thailand)

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย (ASEAN Association – Thailand)      ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งหวังให้สมาคมฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของภาครัฐและสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมเพื่อทำให้กระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2558      สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของอาเซียน ที่มีต่อการดำเนินชีวิตั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนผ่านการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ และจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนจากภาคประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ