นักศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียน.. นำเสนอการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น.. ในรายวิชาTFRE3509 ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565.. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565

นักศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียน.. นำเสนอการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น.. ในรายวิชาTFRE3509 ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 Previous Next

ชาติพันธ์ุในจังหวัดนครปฐม

ชาติพันธุ์ (ชาดติพัน) หมายถึง “น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกันและที่แสดงเอกลักษณ์ออกมาโดยการผูกพันลักษณะการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน”
ที่มา :พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 359…
ความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานเมืองนครปฐมเมืองนครปฐมเดิมตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีความเจริญมากในสมัยทวารวดีเพราะเป็นเมืองราชธานีที่สำคัญในสมัยนั้น เป็นแหล่งรับอารยธรรมที่เผยแพร่มาจากประเทศอินเดีย ผ่านเข้ามาที่นครปฐมเป็นแหล่งแรกรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญมีชนชาติต่างๆอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดความแห้งแล้งในเมืองเพราะกระแสน้ำเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพออกไปหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาหลายร้อยปี

ภูมินามท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม

ภูมินาม หมายถึง นามบ้านนามเมือง นามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งภูมินามเหล่านั้นอาจจะมีที่มาจากต้นเหตุแตกต่างกันไป เช่น มาจากนิทาน นิยายประจำถิ่น ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสอดคล้องทางภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ลักษณะกายภาพในท้องถิ่น ตลอดจนพืชพรรณต่างๆ ที่อยู่ในท้องถิ่น

ตลาดโบราณนครปฐม

จากการที่รัชกาลที่ 4  ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์  มีการขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อการคมนาคมขนส่ง  นับแต่นั้นมาก็ส่งผลให้ผู้คนเริ่มทยอยเข้ามายังองค์พระปฐมเจดีย์  เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ต่อจากรัชกาลที่ 4 และได้สร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านองค์พระปฐมเจดีย์ทางด้านทิศเหนือส่งผลให้มีความสะดวกในการเดินทางยิ่งขึ้น

ชมรมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา ม.คริสเตียน จัดโครงการพิธีไหว้ครู ประจำปี 2565 ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ชมรมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา ม.คริสเตียน จัดโครงการพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน Previous Next

ชมรมศิลปวัฒนธรรม ม.คริสเตียน จัดโครงการอนุรักษ์มรดกไทย ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2565 ในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 ณ ลานเอนกประสงค์ อาคารศรีสิรินธร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ชมรมศิลปวัฒนธรรม ม.คริสเตียน จัดโครงการอนุรักษ์มรดกไทย ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2565 ในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 ณ ลานเอนกประสงค์ อาคารศรีสิรินธร มหาวิทยาลัยคริสเตียน Previous Next

การศึกษาสภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันในบริเวณเมืองนครไชยศรีโบราณ

รายงายการวิจัย การศึกษาสภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันในบริเวณเมืองนครไชยศรีโบราณ แหล่งข้อมูล : ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปัจจัยที่ทำให้เมืองโบราณนครไชยศรีถูกทำลายในปัจจุบัน จากการรวบรวมข้อมูลทางเอกสารและการสัมภาษณ์ประชาชนในเขตพื้นที่เมืองโบราณนครไชยศรีสรุปปัจจัยที่ทำให้เมืองโบราณนครไชยศรีถูกทำลายได้เป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1 การพัฒนาทางกายภาพภายในเขตเมืองโบราณ โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่สภาพแวดล้อมการพัฒนาทางกายภาพที่ส่งผลต่อการทำลายเมืองโบราณนครไชยศรีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดได้แก่ การตัดถนนเพชรเกษมขนาด 8 ช่องทางจราจรผ่ากลางเมืองโบราณในปี 2478 ซึ่งขณะที่ดำเนินการก่อสร้างถนนในครั้งนั้นก็ได้พบศิลปวัตถุสมัยทวารวดีหลากหลายชนิดบริเวณวัดพระประโทนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองโบราณ และศิลปวัตถุที่พบบางอย่างก็ยังเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สำหรับเป็นข้อมูลทางการศึกษาอยู่จนถึงปัจจุบัน และถึงแม้ว่าทางการจะทราบข้อมูลการค้นพบศิลปวัตถุในบริเวณก่อสร้างทางหลวงก็ไม่ได้ดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนเส้นทางการก่อสร้างให้เลี่ยงพื้นที่เมืองโบราณแต่อย่างใดในที่สุดถนนสำหรับคมนาคมขนาด 8 ช่องทางจราจรจึงตัดผ่ากลางเมืองโบราณนครไชยศรีและส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ของเมืองโบราณเป็นอย่างมากการพัฒนาทางกายภาพอีกประการหนึ่งได้แก่การถมคูคลองเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ทำถนนหรือปลูกสร้างอาคาร ทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังเช่นคลองคูเมืองทั้ง 4 ด้าน จากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศพบว่ามีความกว้างถึง 60 เมตร แต่ปัจจุบันพื้นที่เขตคูเมืองถูกรุกล้ำเพื่อสร้างถนนและเป็นพื้นที่ทำกินจนเหลือขนาดความกว้างของคูเมืองไม่ถึง 20 เมตร ภาพถ่ายทางอากาศแสดงอาณาเขตเมืองโบราณนครไชยศรี ภาพถนนเพชรเกษมขนาด 8 ช่องทางจราจร ผ่ากลางเมืองโบราณ ภาพคูเมืองปัจจุบันความกว้างไม่ถึง 20 เมตร(ในสมัยทวารวดีมีความกว้าง 60 เมตร)(ผศ.นุกูล ชมภูนิช และ อาจารย์สุพจน์ สุทธิศักดิ์ ลงพื้นที่สำรวจ) ภาพการสร้างถนนรุกล้ำพื้นที่เมืองโบราณ (ในภาพเป็นบริเวรวัดพระเมรุ) 2. ประชาชนขาดความรู้เรื่องเมืองโบราณประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมืองโบราณนครไชยศรี ยังขาดความรู้เรื่องเมืองโบราณ โดยเฉพาะความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของแหล่งโบราณสถานที่สำคัญ […]

รูปแบบอาคารศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ที่มาของแบบอาคาร       รูปลักษณะของอาคารศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐมฯ นี้ เป็นแบบทวารวดีประยุกต์ ซึ่งผู้ออกแบบอาคารมีแนวคิดที่จะสืบสานอารยธรรมทวารวดีในอดีต กับอารยธรรมไทยปัจจุบันให้ผสานกลมกลืนกันเพื่อใช้เป็นสถานที่ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยคริสเตียนจังหวัดนครปฐม ซึ่งบริเวณแถบนี้เคยเป็นแหล่งวัฒนธรรมสำคัญของยุคทวารวดีเก่าก่อน ผู้ออกแบบจึงแต่งเติมรูปลักษณ์ทวารวดีที่สันหลังคาด้วยตัวบราลี เสาหินสลักตามมุมผนังอาคาร ราวบันไดและซุ้มประตูทางเข้าอย่างสัญจิเจดีย์สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ลวดลายสลักที่ซุ้มประตูแห่งนี้ เป็นภาพแกะสลักที่มีเรื่องราวของความเป็นไทยของคนในยุคนี้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกิดความแตกต่างไปจากบ้านคนทั่วไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษาของคนในยุคหน้า      ตัวอาคารเป็นสองชั้น แต่ดูภายนอกเหมือนมีชั้นเดียวแบบเรือนปั้นหยา ผู้ออกแบบจึงยกหลังคาให้สูงขึ้นจากกันสาด เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยใต้หลังคาเพื่อขึ้นเป็นชั้นที่สอง ทำให้เกิดช่องระบายลมเป็นหน้าต่างกระจกมีแสดงสว่างภายในห้องโดยมิต้องใช้แสงไฟฟ้า ผนังอาคารชั้นล่างมีบานหน้าต่างกระจก เปิดให้ลมผ่านได้ และปิดได้เมื่อต้องการใช้เครื่องปรับอากาศพร้อมทั้งกันฝนสาดและแดดส่องได้ดี พื้นอาคารยกสูงจากพื้นดิน 1 เมตร เพื่อป้องกันความชื้นและเพิ่มความมั่นคงให้กับตัวอาคารด้วยเจดีย์องค์ใหญ่ หมายถึง องค์ประปฐมเจดีย์ที่พระโสณะ และพระอุตระได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนามหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ต่อเติมให้สูงใหญ่สง่างาม ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันก้อนเมฆ หมายถึง พระปฐมเจดีย์ที่สูงเสียดฟ้า ผศ.นุกูล ชมภูนิช / ผู้ออกแบบ แนวคิดในการออกแบบ …………… นครปฐมเคยเป็นดินแดนอารยธรรมของพุทธศาสนา ที่ได้รับอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 300 และต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 1100–1600 ในปลายยุคทวารวดีก็ถูกทิ้งร้าง นักโบราณคดีกล่าวว่าในยุคทวารวดีความยิ่งใหญ่และความรุ่งเรืองของอารยธรรมทวารวดีที่นครปฐมโดดเด่นกว่าแห่งใดๆในประเทศไทย จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงดำเนินการฟื้นฟู […]

วงดนตรีพื้นบ้านพิณแคนประยุกต์ในจังหวัดนครปฐม

ประวัติความเป็นมา ในด้านประวัติความเป็นมาของวงพิณแคนประยุกต์ในจังหวัดนครปฐม พบว่ามีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยอดีต ซึ่งเริ่มต้นจากวงกลองยาวพื้นบ้านได้พัฒนาต่อยอดมาจนเป็นวงพิณแคนประยุกต์.. ที่ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม นับได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีวงพิณแคนประยุกต์อยู่หลายคณะ จุดสังเกตอีกแง่มุมคือนักดนตรีในวงพิณแคนประยุกต์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายลาวครั่ง ซึ่งชุมชนเชื้อสายลาวครั้งนี้ได้กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครปฐม นอกจากมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในกลุ่มของนักดนตรีด้วยกันแล้ว ยังมีองค์กรที่เป็นเครือข่ายทางดนตรีพิณแคนประยุกต์ กล่าวคือ การที่โรงเรียนวัดลำเหย ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดย ดร.อนวัช นกดารา หรือที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าครูอุบล ซึ่งเป็นข้าราชการครูโรงเรียนวัดลำเหย เป็นผู้ที่สร้างสรรค์สนับสนุนส่งเสริมศิลปะการแสดงโปงลาง โดยนำนักเรียนไปฝึกฝนการเล่นเครื่องดนตรีอีสาน เช่น พิณ แคน โปงลาง ฯ ตลอดจนศิลปะการร่ายรำ และตั้งวงโปงลางของโรงเรียนวัดลำเหยขึ้น มีชื่อวงว่า “ศรีอุบลโปงลาง” ซึ่งได้แสดงทั้งงานภายในโรงเรียนและในชุมชนตามโอกาสต่างๆ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป จากการที่วงพิณแคนประยุกต์ฯ ได้มีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นภายในครอบครัวเครือญาติ เมื่อมาผนวกกับลูกหลานเยาวชนที่เป็นนักเรียนที่เล่นดนตรีอยู่ในวง “ศรีอุบลโปงลาง” ของโรงเรียนวัดลำเหยที่มีทักษะในการแสดงดนตรีพื้นบ้าน ส่งผลให้เด็กลูกหลานเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดวงพิณแคนประยุกต์ของชุมชนลำเหย วงพิณแคนประยุกต์นอกจากจะพบได้มากที่ชุมชนตำบลลำเหยแล้ว ยังมีอยู่กระจายทั่วไปในจังหวัดนครปฐม แต่ก็น้อยกว่าที่ชุมชนตำบลลำเหย จึงกล่าวได้ว่าชุมชนตำบลลำเหยเป็นชุมชนที่มีวงพิณแคนประยุกต์มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม และเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รูปแบบการแสดงดนตรีพื้นบ้านพิณแคนประยุกต์ใน จ.นครปฐม บทบาทของวงพิณแคนประยุกต์ใน จ.นครปฐม ภาพ : อาจารย์วิศิษ แก้วเอี่ยม […]

การส่งเสริมการท่องเที่ยว ในจังหวัดนครปฐม 9 แห่ง

วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร คริสตจักรจีนนครปฐม วัดไผ่ล้อม วัดศีรษะทอง วัดไร่ขิง พระอารามหลวง วัดธรรมปัญญารามบางม่วง วัดกลางบางพระ วัดลำพญา วัดอรัญญญการาม นครปฐม อู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเลเป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐมเพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชได้ธุดงค์ไปพบประปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้งเมื่อได้ครองราชย์จึงโปรดฯให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ฯ ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และโปรดฯให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม” คำขวัญจังหวัดนครปฐมส้มโอหวาน ข้าวสารขาว […]